ทนายดัง โพสต์ทันที หลังคนแห่ลงทะเบียนรับเงิน 15,000 ต้องจ่ายเงินคืนรัฐ - la

Header Ads

ทนายดัง โพสต์ทันที หลังคนแห่ลงทะเบียนรับเงิน 15,000 ต้องจ่ายเงินคืนรัฐ






จากที่รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ด้วยการสนับสนุนเงิน 5,000 บาท 3 เดือน ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่าน เว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน




ต่อมาต้องบอกเลยว่า หลายๆคนอาจจะไม่ได้อ่านกฎข้อสุดท้ายของการลงทะเบียนหากใครไม่ใส่ข้อมูลตามจริง หรือปิดบังข้อมูลจะต้องคืนเงินให้กับทางกระทรวงการคลังภายใน 90 วัน โดยได้บอกเอาไว้ว่า

ข้าพเจ้าได้อ่าน รับทราบ และตกลงยินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการฯ หากข้าพเจ้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการ

ข้าพเจ้ายินยอมให้กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังสั่งระงับการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรการฯ และตรวจสอบการกระทำดังกล่าว หากตรวจสอบแล้วพบว่าข้าพเจ้ากระทำผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการฯจริง ให้กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังระงับสิทธิในการได้รับเงินชดเชยตามมาตรการฯ

และข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินชดเชย ที่ได้รับไปแล้วคืนให้แก่รัฐภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับสิทธิดังกล่าว ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ให้การตัดสินของกระทรวงการคลังถือเป็นที่สุด

ภาพดังกล่าว

ภาพดังกล่าว

ภาพดังกล่าว

ตามนี้

ล่าสุด มีผู้ใช้เฟสบุ๊ค Dr.Pete Peerapat ซึ่งเป็นเฟสบุ๊คของ ดรพีรภัทร ฝอยทอง CFP ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย

เช็คดี ๆนะคะ ใครไม่เคยเสียภาษีเลย ทำงานอิสระเงินเข้าบัญชีต่อปีเท่าไหร่ ถ้าเกิน 15,0000 ตรวจย้อนหลังเจอเสียภาษีสองเท่านะคะ ชิมช้อปใช้ มีคนโดนมาแล้ว

1.เกณฑ์การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ที่มี เงินได้สุทธิ ไม่ใช่รายได้ เกิน 150000 บาท/ปีต้องเสียภาษี ซึ่งเงินเข้าบัญชี ไม่ได้ถือว่าเป็นเงินได้สุทธิทันที เพราะเรายังสามารถหักค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อนได้ตามกฎหมายอีก ซึ่งค่าใช้จ่ายที่หักได้นั้นมีทั้งแบบเหมาจ่าย 40-60% หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่ทำ

ดังนั้น มีเงินเข้าแค่ 150,000/ปี หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน เหลือไม่ถึง 100,000 บาท ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีหรอกครับ

2.กรณี เงินโอนเข้า150000บาทต่อปี ธนาคารไม่ได้ส่งข้อมูลให้สรรพากรนะครับ

ธนาคารจะส่งข้อมูลบัญชีเราให้สรรพากรเมื่อเข้าเงื่อนไข ต่อไปนี้

มีเงินฝาก หรือ โอนเข้าบัญชีเกิน 3,000 ครั้งขึ้นไป (ต่อปี)

หรือ มีเงินฝาก หรือ โอนเข้าเกิน 400 ครั้งขึ้นไป ต่อปี และ มีมูลค่ารวม 2 ล้านบาทขึ้นไป

ดังนั้น เงินโอนเข้าแค่ 150,000 บาท และได้รับโอน 3,000 ครั้งขึ้นไป ธนาคารไม่ได้ส่งข้อมูลให้สรรพากรแน่นอน

3.ชิมช้อปใช้ มีคนโดนมาแล้ว ไม่จริงเลย เพราะชิมช้อปใช้ไม่ได้มีเกณฑ์เรื่องรายได้ของคนรับเงินแต่อย่างใด ถ้าจะมีเกณฑ์เรื่องรายได้ น่าจะเป็นเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ที่กำหนดว่าคนขอรับเงินต้องมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี

ข้อความในรูปที่สองถึงรูปสุดท้าย ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินชดเชย ที่ได้รับไปแล้วคืนให้แก่รัฐภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับสิทธิดังกล่าว

ในกรณีที่รัฐได้ดำเนินการตามข้อ 2.5 แล้ว รัฐอาจใช้สิทธิในการที่จะดำเนินคดีทางแพ่งหรือทางอาญาต่อไป”

1.สองข้อความนี้ เอามาจากข้อตกลงเงื่อนไขก่อนที่จะกดรับสิทธิรับเงินเยียวยา 5,000 บาท

2.การรับเงินเยียวยา 5,000 บาทนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องภาษีในโพสต์แรกแต่อย่างใด

3.ข้อความนี้หมายถึง คนที่ไปขอรับเงินเยียวยาโดยไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด พูดง่ายๆคือไป กรอกข้อมูลเท็จ นั่นแหละครับ เช่น

เราไม่ได้ทำงาน แต่ไปกรอกว่าขายของที่ตลาดนัด แล้วตลาดถูกปิด ต่อมารัฐบาลไปตรวจสอบเจอว่า คุณไม่ได้ทำงาน

แบบนี้หากรัฐบาลจ่ายเงิน 5,000 บาทให้คุณไปแล้ว และตรวจสอบเจอทีหลัง คุณก็จะต้องคืนเงินให้รัฐบาลภายใน 90 วัน

รวมทั้งรัฐบาลอาจจะดำเนินคดีกับเราได้ ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์

สรุป โพสต์นี้เป็นการจับแพะชนแกะ มั่วเอาข้อมูลหลาย ๆ เรื่องมาผสมกัน จนคนหลงเชื่อและแชร์กันไปเป็นหมื่นแล้วในตอนนี้

ข้อมูลที่ถูกต้อง คือ ถ้าใครถึงเกณฑ์เสียภาษี เงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี แล้วไม่ยื่นแบบเสียภาษี หากสรรพากรตรวจเจอ คุณจะโดนเบี้ยและเงินเพิ่ม

ถ้าคุณให้ข้อมูลเท็จ คือ จริง ๆ คือไม่มีสิทธิได้เงิน 5,000 บาท คุณจะโดนดำเนินคดีแน่นอน

ต้องบอกเลยว่าอยากให้ทุกคนอ่านให้ละเอียด อย่าพึ่งตกใจไปเลยนะคะ

ขอบคุณที่มาจาก Dr Pete Peerapat

No comments

Powered by Blogger.